วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

80. เปรียบเทียมความเก่าของพระกริ่งในแต่ละยุคที่แตกต่างกัน

พระกริ่งจัดได้ว่าเป็นพระที่สร้างมีพิธีกรรมยิ่งใหญ่ เข้มขลัง  มวลสารส่วนผสมดีเลิศศักดิ์สิทธิ์  
         ขอนำพระกริ่งหลากหลายยุคสมัย  นำมาเปรียบเทียบ  ให้เห็นภาพกันจะๆ  ในความแตกต่างของอายุการสร้าง  รวมทั้งวรรณะสีผิวของโลหะธาตุแต่ละยุคแต่ละสมัยมีความเก่าในแต่ละยุค ปี พ.ศ. ต่างกัน  มีลักษณะเช่นไร  
         เพื่อให้พวกเซียนตำราที่ถูกพวกเสี้ยนทั้งหลายบดบังสายตา  จะได้ตาสว่าง  พิจารณาดูเอาเองนะครับ  การถ่ายรูปเปรียบเทียบภายใต้สภาวะแสงเหมือนกัน ขยายรูปมองให้ชัดๆ  จะได้เข้าใจเนื้อกลับดำนั้นมีลักษณะความเก่าเช่นไร  
         เมื่อเข้าใจแล้ว ย่อมก่อเกิดวิสัยทัศน์ในมุมมองพระกริ่งที่ถูกต้อง

 คู่ที่ 1
- ซ้ายมือ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้าง พ.ศ.2411
- ขวามือ พระกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศ กรุงเทพ พ.ศ. 2530
สรุป อายุของการสร้างองค์ขวามือมีอายุเพียง 24 ปี  วรรณะสีผิวย่อมมีความเก่า เมื่อเปรียบเทียบกับองค์ซ้ายมือที่มีอายุ 143 ปี  วรรณะสีผิวต่างกันชัดเจน


คู่ที่ 2
- ซ้ายมือ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้าง พ.ศ.2411
- ขวามือ พระกริ่ง(นอก) หนองแส องค์นี้สร้างประมาณปี พ.ศ. 2119 หรือ 435 ปีที่ผ่านมา
สรุป อายุของการสร้างองค์ขวามือมีอายุ 435 ปี  วรรณะสีผิวย่อมมีความเก่า เมื่อเปรียบเทียบกับองค์ซ้ายมือที่มีอายุ 143 ปี  วรรณะสีผิวย่อมมีความเก่ามากว่าต่างกันอย่าชัดเจน




คู่ที่ 3 - ซ้ายมือ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้าง พ.ศ.2411
- ขวามือ พระกริ่งปวเรศ สร้างในวาระ พ.ศ.2416  ซึ่งเป็นวาระเดียวกันกับพระกริ่งปวเรศที่อยู่ใน วัดบวรนิเวศ
สรุป อายุของการสร้างองค์ขวามือมีอายุเพียง 138 ปี   เมื่อเปรียบเทียบกับองค์ซ้ายมือที่มีอายุ 143 ปี  อายุการสร้างต่างกัน 5 ปี   วรรณะสีผิวของความเก่ามีความต่างกันไม่มาก



คู่ที่ 4 - ซ้ายมือ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้าง พ.ศ.2411
- ขวามือ พระ(กริ่งนอก) พระพัชรีตีอ๋อง สมัยราชวงศ์ถัง ตามประวัติศาสตร์ ราชวงศ์ถัง มีความรุ่งเรืองในยุค พ.ศ.1161 - พ.ศ. 1450 (1,104 - 1,393 ปีที่ผ่านมานับถึง พ.ศ.2554) ในยุคราชวงศ์ถังมีอายุ 289 ปี
   พัชรีตีอ่ององค์ขวามือมีอายุการสร้างประมาณ 1,227 ปี  ประมาณ พ.ศ.1327 วรรณะสีผิว  ถึงแม้นจะผ่านการใช้งานขัดสีฉวีวรรณมาอย่างไร  ความเก่าของเนื้อพระย่อมเป็นที่ประจักแก่สายตา 

สรุป อายุของการสร้างองค์ขวามือมีอายุ 1,227 ปี   เมื่อเปรียบเทียบกับองค์ซ้ายมือที่มีอายุ 143 ปี  อายุการสร้างต่างกันพันกว่าปี   วรรณะสีผิวความเก่ามีความต่างกันชัดเจน  อีกทั้งโลหะอายุความเก่าขององค์พระเห็นได้ชัดถึงความเก่าที่สร้างมานับพันปี


 คู่ที่ 5
- ซ้ายมือ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้าง พ.ศ.2411
- ขวามือ พระกริ่งเทพโมลี พระกริ่งที่อธิฐานจิตและเป็นรุ่นแรกของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) สร้างในสมัยที่ทรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระเทพโมลี สร้างเมื่อ พ.ศ.2441
สรุป อายุของการสร้างองค์ขวามือมีอายุ 113 ปี  วรรณะสีผิวย่อมมีความเก่า เมื่อเปรียบเทียบกับองค์ซ้ายมือที่มีอายุ 143 ปี  อายุการสร้างต่่างกัน 30 ปี  โลหะธาตุส่วนผสมต่างสำนักกัน  องค์ซ้ายมือสร้างโดยสูตรตำราช่างหลวง(ช่างสิบหมู่)  ส่วนองค์ขวามือเป็นโลหะที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) สร้างขึ้นตามตำราของพระองค์ท่าน  จึงเผยให้เห็นความแตกต่าง  แต่วรรณะสีผิวความเก่าห่างกัน 30 ปี  มองยังไงความเก่าก็ยังด้อยกว่าพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข องค์ซ้ายมือที่สร้างในปี พ.ศ.2411


 คู่ที่ 6
- ซ้ายมือ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้าง พ.ศ.2411
- ขวามือ พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชแพ (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ รุ่นพรหมมุนี องค์นี้สร้างวาระ พ.ศ.2464
สรุป อายุของการสร้างองค์ขวามือมีอายุ 90 ปี  เมื่อเปรียบเทียบกับองค์ซ้ายมือที่มีอายุ 143 ปี  อายุการสร้างต่่างกัน 53 ปี  โลหะธาตุส่วนผสมต่างสำนักกัน  องค์ซ้ายมือสร้างโดยสูตรตำราช่างหลวง(ช่างสิบหมู่)  ส่วนองค์ขวามือเป็นโลหะที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) สร้างขึ้นตามตำราของพระองค์ท่าน  จึงเผยให้เห็นความแตกต่าง  แต่วรรณะสีผิวความเก่าห่างกัน 53 ปี  (การกลับดำ)ยังด้อยกว่าพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข องค์ซ้ายมือที่สร้างในปี พ.ศ.2411



คู่ที่ 7
- ซ้ายมือ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้าง พ.ศ.2411
- ขวามือ พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ  ปี พ.ศ.2479 สร้างขึ้นในวันเพ็ญ ปี พ.ศ.2479 ตรงกับวันที่ 30 ตุลาคม 2479 อันเป็นวันครบรอบพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) สร้างขึ้นจำนวน 464 องค์
สรุป อายุของการสร้างองค์ขวามือมีอายุ 75 ปี  เมื่อเปรียบเทียบกับองค์ซ้ายมือที่มีอายุ 143 ปี     แต่วรรณะสีผิวความเก่าห่างกัน 68 ปี  ความเก่ายังด้อยกว่าพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข องค์ซ้ายมือที่สร้างในปี พ.ศ.2411




คู่ที่ 8
- ซ้ายมือ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้าง พ.ศ.2411
- ขวามือ  พระกริ่งสมเด็จพระสังฆราชแพ (แพ) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ รุ่นธรรมโกษาจารย์ องค์นี้สร้างวาระ พ.ศ.2447

สรุปอายุ ของการสร้างองค์ขวามือมีอายุ 107 ปี   เมื่อเปรียบเทียบกับองค์ซ้ายมือที่มีอายุ 143 ปี  วรรณะสีผิวดูให้ดี อายุการสร้างต่างกัน 36 ปี จะเห็นความแตกต่างความเก่าของอายุที่เกิดขึ้นตามกาลเวลาอย่าแท้จริง



คู่ที่ 9
- ซ้ายมือ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้าง พ.ศ.2411
- ขวามือ พระกริ่งรุ่นน้ำท่วม พ.ศ. 2485 เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ
สรุป อายุของการสร้างองค์ขวามือมีอายุ 69 ปี    เมื่อเปรียบเทียบกับองค์ซ้ายมือที่มีอายุ 143 ปี  วรรณสีผิวเห็นความต่างกันชัดเจน



คู่ที่ 10
-  พระกริ่งปวเรศ สร้างวาระ พ.ศ.2394  ฝังอยู่ด้านหลังเนื้อพระสมเด็จพิมพ์พิเศษ มีอายุการสร้าง 160 ปี  หากเปรียบเทียบกับ  พระกริ่งปวเรศพิมพ์สมบูรณ์พูนสุข สร้างวาระ พ.ศ.2411 อายุความเก่าต่างกัน 17 ปี  จะพบว่าพระกริ่งปวเรศที่สร้างในวาระ พ.ศ.2394 มีวรรณะสีผิวเก่ากว่าพระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พ.ศ.2411

บทความในกระทู้นี้ได้แสดงรูปพระกริ่งยอดนิยม  หลากหลายรุ่นให้ได้ชมเพื่อให้ท่านที่สนใจได้ศึกษาความเก่าขององค์พระ กริ่งว่าวรรณะสีผิวการกลับดำเป็นเช่นไร  

ไม่ใช่ไปหยิบตำราข้อมูลลอกๆกันมา(คล้ายกันไปหมด)  อ่านไปยังไม่รู้ใครเป็นต้นฉบับ  เมื่ออ่านจบนำข้อมูลเหล่านั้นมาเป็นบรรทัดฐานว่าใช่   การเรียนรู้ลักษณะนี้เป็นการเรียนรู้ที่ไม่ถูกต้อง  เพราะอ่านมาอย่างเดียว(รับข้อมูลฝ่ายเดียว)  กระทู้นี้ได้นำมาเสนอด้วยการนำรูปพระกริ่งของแท้มาเปรียบเทียบให้คนที่ไม่มี โอกาส ได้พบเห็นพระกริ่ง...หลากหลายเหล่านี้ที่เป็นของแท้  ได้เห็นความแตกต่างด้วยตาของตนเอง

เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความเก่าของการกลับดำแต่ละ พ.ศ.ที่สร้างมีความเหมือนและแตกต่างกันเช่นไร เมื่อผู้สนใจศึกษาจากรูปเหล่านี้แล้วสามารถสรุปออกมาเป็นความคิดของตนเอง ได้ 

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

79. "ยุค-อายุ" ของ...เหรียญ

อ้างอิงจาก....ชั่วโมงเซียน"ยุค-อายุ" ของ...เหรียญ 

ใน ปัจจุบันนี้ พระเครื่องประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญคณาจารย์รุ่นเก่าๆ โดยเฉพาะเหรียญหลักยอดนิยมในอันดับต้นๆ มีค่านิยมสูงมาก การทำปลอม จึงมีการพัฒนาวิธีการทำได้ใกล้เคียงของแท้มาก เนื่องจากของปลอมนำเหรียญแท้ไปถอดพิมพ์ จึงทำให้ของปลอมมีจุดตำหนิที่ด้านหน้าและด้านหลังของเหรียญ ใกล้เคียงกับของแท้มาก จะแตกต่างกัน
ที่ความชัดของตัวหนังสือ และความชัดของเส้นแตก รูเจาะหูเหรียญ ตลอดจน ขอบข้างของเหรียญ ซึ่งเป็นจุดสำคัญ ในการพิจารณาเหรียญที่สำคัญที่สุด
         ท่าน จะเห็นได้ว่า ในการซื้อ-ขายเหรียญนั้น ผู้ชำนาญการจะจบลงที่การพิจารณาขอบข้างของเหรียญ ซึ่งเป็นบทสรุปในการพิจารณาว่า แท้หรือไม่ เพราะขอบด้านข้างของเหรียญ ยังไม่สามารถปลอมแปลงได้เหมือน เนื่องจากร่องรอยที่เกิดขึ้นที่ด้านข้างของเหรียญนั้น เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากขั้นตอนการผลิต  
 
อย่าง ไรก็ตาม การปั๊มตัดข้างเหรียญนั้น แบ่ง ออกเป็น ๓ ยุค คือ 
๑.ยุคประมาณ พ.ศ.๒๔๔๐-พ.ศ.๒๔๘๕ 
๒.ยุคประมาณ พ.ศ.๒๔๘๖-พ.ศ.๒๔๙๙ 
๓.ยุคประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐-ปัจจุบัน 

๑. เหรียญช่วงปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๘๕ นิยมสร้าง เหรียญที่มีลักษณะเป็นรูปทรงกลม รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา รูปทรงเหรียญทั้งสี่แบบนี้ สามารถแยกกรรมวิธีการสร้างได้เป็น ๒ ชนิด คือ เหรียญปั๊มชนิดข้างเลื่อย และเหรียญปั๊มชนิดข้างกระบอก ซึ่งเหรียญที่มีกรรมวิธีการสร้างทั้ง ๒ ชนิดนี้มีรายละเอียด คือ
         เหรียญปั๊มข้างเลื่อย คือ การนำแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของตัวเหรียญ มาทำการปั๊มขึ้นรูปเหรียญ ให้ได้ตามลักษณะรูปทรงของเหรียญ ตามต้องการ จากนั้นนำมาเลื่อยฉลุโลหะส่วนที่เกินออกมาเป็นเหรียญตามรูปทรงนั้นๆ วิธีการนี้จึงเรียกว่า "เหรียญปั๊มข้างเลื่อย" ซึ่งบริเวณด้านข้างของเหรียญจะปรากฏรอยเลื่อยให้เห็น 
         เหรียญปั๊มข้างกระบอก คือ เหรียญปั๊มข้างกระบอกนั้น ส่วนใหญ่โรงงานปั๊มเหรียญจะทำบล็อกกระบอกเป็นรูปทรงกลม และรูปไข่เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการทำกระบอกที่จะนำมาปั๊มเหรียญจะมีวิธีทำที่ไม่ยุ่งยาก และไม่เสียเวลามากนัก แต่เหรียญที่มีข้างกระบอกไม่ได้มีเพียงรูปทรงกลมและรูปไข่เท่านั้น รูปทรงเสมาและรูปทรงอาร์มก็มีเช่นกัน แต่น้อยมาก เนื่องด้วยกรรมวิธีการทำที่ยุ่งยากกว่า
         เท่าที่พบในการสร้างเหรียญปั๊มข้างกระบอก รูปทรงอาร์ม และรูปทรงเสมา ในปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๘๕ ก็มีเหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติฯ พิมพ์ขอเบ็ด เหรียญหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก พิมพ์หน้าใหญ่ เป็นต้น
          การปั๊มแบบข้างกระบอก คือ การนำแผ่นโลหะมาเลื่อยตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั๊ม เพื่อเข้ากระบอก และทำการปั๊มรูปเหรียญนั้นๆ แผ่นโลหะที่ถูกแรงกระแทกจากการปั๊มขึ้นรูปนั้นขอบด้านข้างจะปลิ้น ไปเบียดกับขอบกระบอก ที่เป็นตัวบังคับ 
ดัง นั้น ด้านข้างของเหรียญปั๊มชนิดนี้จึงเรียบเนียน เนื่องจากการปั๊มเข้ากระบอก โดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ แต่หากพบรอยเส้นทิวบางๆ ในขอบข้างของเหรียญชนิดนี้ก็อย่าตกใจ เพราะสาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากการที่ช่างแต่งตัวบล็อกกระบอก ที่จะปั๊มเหรียญไม่เรียบ เวลาปั๊มออกมาจึงมีลักษณะไม่ค่อยเรียบตามตัวบล็อค

๒.เหรียญปั๊มข้างตัด (ปั๊มตัดแบบยุคเก่า) การ สร้างเหรียญชนิดนี้จะอยู่ในช่วงประมาณ พ.ศ.๒๔๘๖-๒๔๙๙ เนื่องจากการสร้างชนิดแบบเก่าที่มีการเข้ากระบอก และแบบเลื่อยขอบ มีความยุ่งยาก และเสียเวลา อีกทั้งในช่วงนี้เริ่มมีวิวัฒนาการในการสร้างเหรียญปั๊มขึ้นมาตลอด เครื่องจักรก็เริ่มมีความทันสมัยขึ้น โรงงานมีการทำตัวตัดขึ้นเพื่อความสะดวกในการตัดเหรียญให้ขาด โดยไม่ต้องมาเลื่อยให้เสียเวลาอีก
         แต่การปั๊มเหรียญและตัดในยุคนั้น จะแตกต่างกับเหรียญในปัจจุบัน คือ ด้านข้างของเหรียญจะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนัก อีกทั้งเหรียญช่วง พ.ศ.นี้ลักษณะของเหรียญด้านหน้าจะนูนเล็กน้อย แต่ด้านหลังจะเป็นแอ่งกระทะ ซึ่งเกิดจากการปั๊มและตัดเหรียญนั่นเอง ตัวอย่างของเหรียญที่สร้างขึ้นในยุคนี้ เช่น เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง บล็อกยันต์วรรค ปี ๒๔๘๖ เป็นต้น 

๓.เหรียญปั๊มยุค พ.ศ.๒๕๐๐-ปัจจุบัน ใน ยุคนี้มีการพัฒนาตัวตัดด้านข้างเหรียญที่ทันสมัย เพื่อความสะดวกในการตัดเหรียญจำนวนมากๆ การพัฒนาตัวตัดยุคนี้จึงค่อนข้างคมชัด บางครั้งในเหรียญหลวงพ่อเดียวกัน มีตัวตัด ๒ ตัว เนื่องจากการสร้างเหรียญในแต่ละครั้งมีจำนวนมากขึ้น เช่น หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ รุ่น ปี พ.ศ.๒๕๐๐ และเหรียญ ๒๕ พุทธศตวรรษ เนื้อทองคำ และเนื้อเงิน ด้วยเหตุนี้ตัวตัดในยุคนี้จึงค่อนข้างคม เพื่อสะดวกในการตัดเหรียญจำนวนมากๆ
         อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นวิทยาทานสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องเหรียญ สามารถศึกษาข้อมูลได้ในหนังสือ "เปิดตำนานเหรียญ" ซึ่ง เป็นหนังสือที่รวบรวมเหรียญดังทุกยุค ทุกรุ่น ทุกพิมพ์ ที่นิยมในวงการพระเครื่อง รวมทั้งเรื่องของเหรียญเก่า เหรียญแพง เหรียญหายาก ที่ยังไม่มีการทำปลอม โดยจะมีรายละเอียดทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และขอบของเหรียญ
ทั้งนี้รายได้ในการจัดทำหนังสือเล่มนี้จะสมทบทุนการจัดสร้างศาลาการเปรียญ วัดวังพิกุลวราราม อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 

 อ้างอิงจาก...ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ
 คมชัดลึก : การศึกษาเรื่องราวของพระเครื่อง ประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์รุ่นเก่าๆ นั้น มีค่านิยมสูงมาก การทำปลอม จึงพัฒนาวิธีการทำให้ใกล้เคียงกับของแท้ยิ่งขึ้น โดยวิธีการที่ง่าย และเป็นที่นิยมที่สุด คือ การนำเหรียญแท้ไปถอดพิมพ์ ซึ่งจะทำให้ได้เหรียญปลอมที่มีจุดตำหนิทั้งด้านหน้าและด้านหลังใกล้เคียงกับ ของจริงมาก

อย่างไรก็ตาม ความคมชัดของตัวหนังสือ เส้นแตก รูเจาะหูเหรียญ ตลอดจนด้านข้างของเหรียญ ก็ยังเป็นจุดสำคัญ ที่สามารถใช้ในการพิจารณาความแตกต่างระหว่างเหรียญแท้และเหรียญปลอมได้อย่าง ชัดเจนที่สุด

 ในอดีตผู้สนใจศึกษาพระเครื่องประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์ หลายคนเลือกที่จะใช้วิธีการจดจำรายละเอียดที่สำคัญของตำหนิเหรียญทั้งหมด ซึ่งในพระเหรียญ ๑ เหรียญอาจจะมีจุดตำหนิให้จดจำมากถึง ๑๐ จุด นั่นหมายความว่า หากเราต้องเรียนรู้เหรียญ ๑๐๐ เหรียญ เราจะต้องจดจำตำหนิทั้งหมดถึง ๑,๐๐๐ จุด เลยทีเดียว

 ดังนั้น แทนที่จะใช้วิธีการจดจำตำหนิทั้งหมด ผมกลับมีเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาเหรียญแต่ละเหรียญ ด้วยวิธีการที่ง่ายกว่านั้น
 นั่นก็คือ การศึกษาธรรมชาติของเหรียญ โดยอาศัยหลักพื้นฐาน ๔ ประการ ได้แก่

 ๑.ความ คมชัดของตัวหนังสือ หรืออักขระยันต์ ๒.พื้นผิวของเหรียญที่เรียบตึง ไม่มีร่องรอยของการถอดพิมพ์ ไม่มีขี้กลาก ๓.การเจาะรูหูเหรียญ ต้องมีเนื้อปลิ้นเกินที่เป็นธรรมชาติ และ ๔.วิวัฒนาการของการตัดขอบเหรียญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย

 ทั้ง ๔ ประการนี้ ถือเป็นจุดที่ใช้ในการพิจารณาเหรียญว่าแท้หรือปลอม ได้ชัดเจนยิ่งกว่าการจดจำตำหนิ

 ที่ สำคัญ ยังสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาได้ทุกเหรียญ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญในยุคสมัยใดก็ตาม เพราะถึงแม้ว่ากรรมวิธีการทำปลอมในปัจจุบันจะสามารถทำได้ใกล้เคียงกับของ จริงแค่ไหน แต่ธรรมชาติของการผลิตเหรียญแต่ละยุค ย่อมมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การซื้อ-ขายเหรียญในปัจจุบัน ผู้ชำนาญการจะใช้วิธีการพิจารณาด้านข้างของเหรียญเป็นบทสรุปว่า แท้หรือไม่

 เพราะ...ขอบด้านข้างของเหรียญเป็นสิ่งเดียวที่ยังไม่สามารถปลอมแปลงได้เหมือน

 เนื่องจากร่องรอยที่ด้านข้างของเหรียญนั้น คือ ร่องรอยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากขั้นตอนการผลิตในแต่ละยุคสมัย

 อย่างไรก็ตาม การศึกษาเหรียญต่างๆ ตามข้อสังเกต ๔ ข้อข้างต้นนั้น จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อไปเช่าหาเหรียญมาศึกษา

 อีกทั้งเหรียญที่เป็นที่นิยมของวงการ ล้วนแล้วแต่เป็นเหรียญที่มีราคาแพง ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านแทบทั้งสิ้น

 ปัญหา จุดนี้ ผมจึงเสนอแนะแนวทางที่ประหยัดกว่า และน่าสนใจ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาแต่มีทุนน้อย นั่นก็คือ ให้ใช้วิธีไปเช่าเหรียญเก่าที่วงการไม่นิยม และมีราคาไม่แพงแทน เพื่อนำมาศึกษาธรรมชาติของเหรียญที่เกิดจากวิวัฒนาการในการปั๊ม และการตัดขอบเหรียญ

 เพราะเหรียญที่ออกมาในยุคสมัยที่ใกล้เคียงกัน ย่อมจะมีขั้นตอนการผลิตที่คล้ายคลึงกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

 ทั้ง นี้ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ทำความเข้าใจ ผมจึงจำแนกเหรียญต่างๆ ตามกรรมวิธีการปั๊มตัดข้างเหรียญ โดยแบ่งออกเป็นออก ๓ ยุคสำคัญ คือ

  ยุคที่ ๑.ประมาณ พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๘๕ ยุคที่ ๒.ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๖-๒๔๙๙ และยุคที่ ๓.ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐-ปัจจุบัน

 ๑. ช่วงปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๘๕ เป็นช่วงที่นิยมสร้างเหรียญลักษณะรูปทรงกลม รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา ซึ่งรูปทรงเหรียญทั้ง ๔ ชนิดนี้ สามารถแยกตามกรรมวิธีการสร้างได้เป็น ๒ ชนิด คือ เหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย และเหรียญชนิดปั๊มข้างกระบอก

โดยเหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย ก็คือ การนำแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั๊มให้ได้ตามลักษณะรูปทรง ที่ต้องการ จากนั้นจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามออกมาเป็นเหรียญตามรูปทรงนั้นๆ
 
ส่วน การปั๊มข้างกระบอก ก็คือ การนำแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้ตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั๊ม เพื่อเข้ากระบอก และการปั๊มเหรียญนั้นๆ ดังนั้น ด้านข้างของเหรียญปั๊มชนิดนี้จึงมีความเรียบเนียน เนื่องจากการกดปั๊มโดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ
 
อย่างไรก็ตาม บางเหรียญอาจมีเส้นทิวบางๆ ในขอบข้างเหรียญ ซึ่งเกิดจากการแต่งขอบให้สวยงามก็ได้
 
๒.เหรียญ ชนิดปั๊มข้างตัด (ปั๊มตัดยุคเก่า) เป็นยุคที่เริ่มพัฒนากรรมวิธีการจัดสร้างเหรียญ ด้วยการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมากขึ้น มาใช้แทนกรรมวิธีแบบเก่า ที่ใช้การเข้ากระบอก และต้องเลื่อยขอบออก เพื่อตกแต่งในขั้นตอนสุดท้าย ด้านข้างของเหรียญจะมีลักษณะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนัก
 
๓. หรียญปั๊มตัดยุค พ.ศ.๒๕๐๐-ปัจจุบัน ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาตัวตัดข้างเหรียญที่ทันสมัย เพื่อความสะดวกในการตัดขอบเหรียญในจำนวนมากๆ ตัวตัดยุคนี้จึงค่อนข้างคมชัด

นับ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีผู้จัดทำหนังสือชี้ตำหนิด้านหน้า-ด้านหลังของเหรียญออกมาแล้วมากมาย หลายต่อหลายเล่ม แต่การเจาะลึกถึงรายละเอียดวิธีการพิจารณาด้านข้างของเหรียญ ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ และเป็นบทสรุปความจริง-ปลอมของเหรียญแบบนี้นั้น แทบจะไม่เคยปรากฏในหนังสือเล่มใดเลย

 บอย ท่าพระจันทร์






78. เหรียญพระสงฆ์หลักล้าน

 ชั่วโมงเซียน : เหรียญพระสงฆ์หลักล้าน

   "เหรีญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน รุ่นแรกสร้าง ปี ๒๔๗๓ ถือว่าแพงสุดๆ ในบรรดาเหรียญพระสงฆ์ทั้งหมด เหรียญที่นำมาโชว์นี้ เป็นเหรียญเนื้อทองแดง ที่มีคานิยมสูงถึง ราคา ๒๕ ล้านบาท"

                นักเลงพระยุคก่อน และเซียนพระสมัยปัจจุบัน ได้มีการจัดพระเครื่องเป็นชุดเบญจภาคี แยกย่อยออกไปอีกหลายชุด เช่น
         พระเบญจภาคียอดขุนพล
         เบญจภาคีพระปิดตา (เนื้อผง เนื้อโลหะ)
         เบญจภาคีเหรียญพระพุทธ
         เบญจภาคีเหรียญพระสงฆ์ ฯลฯ
         เบญจภาคีเครื่องราง
    
                ในกรณีของการจัด เหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์ นั้น เดิมทีประกอบด้วย
๑.เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กทม. สร้างปี ๒๔๖๗
๒.เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรี อยุธยา สร้างปี ๒๔๖๙
๓.เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท สร้างปี ๒๔๖๖
๔.หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม จ.เพชรบุรี สร้างปี ๒๔๖๕ และ
๕.เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ กทม. สร้างปี ๒๔๗๗ ซึ่งปัจจุบันนี้เหรียญเหล่านี้มีค่านิยมหลักหลายๆ ล้าน
    
                แม้ว่าเหรียญเบญจภาคีพระสงฆ์ จะขึ้นชื่อว่ามีค่านิยมสูง แต่มีอยู่เหรียญหนึ่งที่สูงกว่า คือ หลวงปู่ไข่ อินฺทสโรภิกฺขุ (ไข่) หรือ หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน รุ่นแรกสร้าง ปี ๒๔๗๓ สันนิษฐานว่าสร้างไม่เกิน ๗๐ เหรียญ ถือว่าแพงสุดๆ ในบรรดาเหรียญพระสงฆ์ ทั้งหมด เหรียญที่นำมาโชว์นี้ เป็นเหรียญเนื้อทองแดง ที่มีค่านิยมสูงถึง ราคา ๒๕ ล้านบาท เหตุผลที่ทำให้เหรียญรุ่นนี้มีค่านิยมสูงมาตั้งแต่อดีตนั้น เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดจากนักเลงพระยุค ก่อนๆ ว่า “เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดบพิตรภิมุขสร้าง ปี ๒๔๗๓  สันนิษฐานว่าสร้างไม่เกิน ๗๐ เหรียญ เป็นเหรียญในตำนาน ใครได้ครอบครองถือว่าเป็นสุดยอดของคนเล่นพระเหรียญ”
    
                อย่างไรก็ตาม ด้วยความนิยมและคำร่ำลือเรื่องพุทธคุณ รวมทั้งจำนวนการสร้างที่น้อยทำให้เหรียญพระสงฆ์ที่เคยมีการเช่าซื้อกันในหลักแสนกลางๆ ถึงแสนปลายๆ ในอดีต แต่ปัจจุบันค่านิยมได้ขยับขึ้นเป็นหลักล้านมีดังนี้
     
                เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔
    
                เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ รวมทั้งเหรียญเนื้อทองแดงและเนื้อเงินที่สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒
    
                เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี เนื้อทองแดง เนื้อเงิน และเนื้ออัลปาก้า สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓
    
                เหรียญหลวงปู่ทวด วัดราษฎร์บูรณะ หรือวัดช้างให้ ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐
    
                เหรียญหลวงพ่อดิ่ง หรือ พระครูพิบูลย์คณารักษ์ วัดบางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา เนื้อทองแดง และเนื้อเงินลงยา สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑
    
                เหรียญหลวงปู่ขาว วัดหลักสี่ กทม. เนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙
    
                เหรียญหลวงพ่อหร่ำ วัดกร่าง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๙ เนื้อทองแดงค่านิยมประมาณ ๗-๘ แสนบาท ส่วนเนื้อเงินอยู่ที่หลักล้านบาท
    
                เหรียญหลวงพ่อเงิน หรือ พระราชธรรมาภรณ์ วัดดอนยายหอม ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม เนื้อทองแดงรมดำ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓
    
                เหรียญหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ต.แม่กลอง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม เนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๕๙
    
                เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ ต.บางยาง อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๔ เนื้อทองแดงค่านิยมประมาณ ๗-๘ แสนบาท ส่วนเนื้อเงินอยู่ที่หลักล้านบาท
    
                เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ เนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗
    
                เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดไชยธาราราม (ฉลอง) อ.เมือง จ.ภูเก็ต เนื้อทองแดง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖
    
                เหรียญหลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ต.ซำป่างาม อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา เนื้อเงินลงยา สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๓
    
                เหรียญพ่อท่านซัง หรือพระครูอรรถธรรมรส (ซัง สุวัณโณ) วัดวัวหลุง อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช เนื้อทองแดง และเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๐
    
                เหรียญหลวงพ่อเพชร หรือ พระครู ประกาศิตธรรมคุณ อดีตเจ้าคณะแขวง หรือ เจ้าคณะอำเภอกาญจนดิษฐ์ และเจ้าอาวาสวัดวชิรประดิษฐ์ ต.ตะเคียนทอง อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี เนื้ออัลปาก้า รุ่นแรก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐
    
                เหรียญหลวงพ่อเพชร วชิโร หรือ พระครูวิบูลย์ธรรมสาร วัดอัมพวัน เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๕
    
                เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร” วัดป่าอุดมสมพร (วัดถ้ำขาม)  ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เนื้อทองแดง และเนื้ออัลปาก้า สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗
 
         ๑ เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่
                เหรียญพระสงฆ์ ที่มีค่านิยมหลักล้าน ส่วนใหญ่เป็นเหรียญที่สร้างก่อน พ.ศ.๒๕๕๐ มีเหรียญเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สร้างหลัง พ.ศ.๒๕๕๐ มีราคาหลักล้าน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มรณภาพไปแล้วทั้งสิ้น แต่มีอยู่เหรียญหนึ่งที่มีราคาหลักล้าน ที่สำคัญคือพระเกจิรูปดังกล่าวยังมีชีวิต คือ พระเทพวิทยาคม หรือหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งภาคอีสานที่ลูกศิษย์ขนานนามให้เป็น "เทพเจ้าแห่งด่านขุนทด"
    
                หลวงพ่อคูณสร้างวัตถุมงคลมาตั้งแต่บวชเพียงแค่ ๗ พรรษา โดยเริ่มทำวัตถุมงคลเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดทองคำ เพื่อฝังที่ใต้ท้องแขน ณ วัดบ้านไร่ ราว พ.ศ.๒๔๙๓ ประโยคคำพูดที่มักจะได้ยินบ่อยๆ "ใครขอกูก็ให้ ไม่เลือกยากดีมีจน" เป็นคำกล่าวของท่านยามแจกจ่ายวัตถุมงคล เนื่องจากวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณได้ชื่อว่ามีความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์
    
                สำหรับเหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นแรกเป็นเหรียญที่สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๒ ขณะพำนักอยู่ที่วัดแจ้งนอก เพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองพระประธาน วัดแจ้งนอก จ.นครราชสีมา เท่าที่มีการค้นพบ มีเพียงเนื้อทองแดงรมดำ ปัจจุบันเป็นเหรียญที่หายาก และมีราคาแพง ราคาอยู่ในหลักแสนต้นๆ ถึงแสนกลางๆ ส่วนเหรียญราคาหลักล้าน คือ เหรียญเนื้อทองคำ รุ่นสร้างบารมี สร้าง พ.ศ.๒๕๑๙
    
    
      "บอย ท่าพระจันทร์"  คมชัดลึก วันที่ 25 กรกฎาคม 2554

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

77. เหรียญพระพุทธหลักล้าน

เหรียญพระพุทธหลักล้าน

เหรียญพระพุทธหลักล้าน : ชั่วโมงเซียน โดยบอยท่าพระจันทร์

 "เหรียญพระพุทธ" คือเหรียญที่จำลองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนนับถือลงบนเหรียญ พระพุทธรูปที่มีการสร้างเป็นเหรียญอันดับต้นๆ เช่น 
๑.หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา  
๒.หลวงพ่อพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก 
๓.หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา 
๔.หลวงพ่อมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา 
๕.หลวงพ่อธรรมจักร วัดเขาธรรมามูล จ.ชัยนาท และ 
๖.หลวงพ่อวัดเขาตะเครา (หลวงพ่อทอง) ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เป็นต้น

ในจำนวนเหรียญพระพุทธทั้งหมด สุดยอดแห่งความแพงต้องยกให้ 
เหรียญหลวงพ่อโสธร รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๖๐ ที่นับเป็นสุดยอดวัตถุมงคลหลวงพ่อโสธร และถือได้ว่าเป็นเหรียญพระพุทธที่ มีราคาแพงที่สุดในประเทศ สร้างขึ้นในสมัยพระอาจารย์หลิน (รักษาการเจ้าอาวาสวัดโสธร) โดย ขุนศิริราชภักดี (เล้ง สันธนะกุล) มัคนายก เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้าง เพื่อสมนาคุณผู้บริจาคซ่อมฐานชุกชีหลวงพ่อโสธร
 เหรียญพระพุทธโสธร รุ่นแรก เป็นเหรียญพิมพ์ทรงอาร์ม ข้างเลื่อย มีชนิดเนื้อโลหะ ๔ ชนิด คือ 
     ทองคำ ปัจจุบันค่านิยมกว่า ๑๐ ล้านบาท 
     เนื้อเงินค่านิยม ๒-๓ ล้านบาท 
     เนื้อสัมฤทธิ์ค่านิยมประมาณ ๔-๗ ล้านบาท และ
     เนื้อทองแดงค่านิยมประมาณ ๓-๕ ล้านบาท



เหรียญหลวงพ่อธรรมจักร วัดเขาธรรมามูล จ.ชัยนาท จัดสร้างขึ้นใน พ.ศ.๒๔๖๑ สำหรับเหรียญรุ่นแรก อย่างเหรียญนี้ และที่สำคัญ คือ ได้รับการอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวจากยอดพระเกจิอาจารย์ ของเมืองไทย นั่นคือ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า พระอาจารย์ของเสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรเขตต์อุดมศักดิ์ ถ้าเป็น
     เนื้อทองคำ ค่านิยมประมาณ ๖-๗ ล้านบาท แต่ถ้าเป็น
     เนื้อเงินค่านิยมประมาณ ๔ แสนบาท ส่วน
     เนื้อทองแดงประมาณ ๒ แสนบาทเท่านั้น

เหรียญหลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง มีการจัดสร้างเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ ทั้งๆ ที่ไม่ได้มีการจารึก พ.ศ. ที่สร้างไว้ในเหรียญก็ตาม แต่รู้กันเป็นนัย ว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ พร้อมกับเหรียญหลวงพ่อพุทธโสธร พ.ศ.๒๔๖๐ 
     ค่านิยมประมาณ ๒ ล้านบาท
  
เหรียญหลวงพ่อพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก หลังอกเลา สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๐ เพื่อแจกแก่ผู้ที่มานมัสการพระพุทธชินราช และร่วมทำบุญที่วัด เพื่อให้ท่านที่เคารพและนับถือ ได้นำไปบูชาติดตัว เพื่อจะได้เป็นสิริมงคลและคุ้มครองป้องกันภัยแด่ผู้มีไว้บูชา มีด้วยกัน ๒ เนื้อ คือ 
     เนื้อเงินและเนื้อทองแดง ต่างก็หายากด้วยกันทั้ง ๒ เนื้อ ค่านิยมทั้ง ๒ เนื้อประมาณ ๑-๒ ล้านบาท


เหรียญพระนิรันตราย ๒๔๙๕ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงในรัชกาลที่ ๔ กทม. ได้ชนวนเก่าจากหลายๆ ที่ และมีพระเกจิอาจารย์ยุคก่อนปี ๒๕๐๐ หลายท่านร่วมพิธีปลุกเสก เช่น ท่านเจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) วัดสุทัศนฯ หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา หลวงพ่อกึ๋น วัดดอนยานนาวา หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และพระคณาจารย์ร่วมสมัยอีกมากมายหลายท่าน  จัดเป็นพิธีหลวงที่ใหญ่มากในสมัยนั้น 
     ค่านิยมของเหรียญรุ่นนี้ประมาณ ๘ แสน-๑ ล้านบาท

เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา สร้างใน พ.ศ.๒๔๖๐-๒๔๖๓ มี ๒ เนื้อ คือ เนื้อทองแดงไม่มีกะไหล่ และเนื้อเงินไม่มีกะไหล่ ลักษณะของเหรียญ เป็นเหรียญรูปไข่ใหญ่ มีห่วงเชื่อม และเป็นเหรียญปั๊ม
เหรียญหลวงพ่อมงคลบพิตร รุ่นแรกนี้เชื่อกันว่าพิธีการปลุกเสกในพระวิหารหลวงพ่อพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อพระมงคลบพิตร เป็นประธานให้พิธีปลุกเสก นอกจากนี้ยังได้นิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น มาเข้าร่วมพิธีด้วย เช่น หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ  หลวงพ่ออ่ำ (พระพุทธวิหารโสภณ) วัดวงษ์ฆ้อง หลวงพ่อวัดพนัญเชิง หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ  เป็นต้น 
     ค่านิยมของเหรียญรุ่นนี้ประมาณ ๘ แสน-๑ ล้านบาท

 เหรียญหลวงพ่อวัดเขาตะเครา (หลวงพ่อทอง) ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี (เหรียญทองคำ) เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวบางตะบูน มีประวัติความเป็นมาคล้ายกับหลวงพ่อพระพุทธโสธร เหรียญรูปพระพุทธของวัดเขาตะเครา มีการสร้างกันมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๐ เป็นต้นมา

พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ

การจัดสร้างพระ เครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ ถือว่าสุดยอดแห่งประวัติศาสตร์ของวงการพระเครื่อง พิธีจัดสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีตั้งแต่กรุงรัตนโกสินทร์เป็น ราชธานี มาจนถึงปัจจุบัน ไม่มีพิธีใดจะยิ่งใหญ่เท่า
 มีพระเกจิ อาจารย์ร่วมสมัยจำนวนมาก เรียกว่ารูปใดดัง มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ก็นิมนต์มาปลุกเสกทุกวัด เช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ พระครูพิศิษฐ์อรรถการ (พ่อท่านคล้าย) วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม พระครูทิวากรคุณ (หลวงปู่กลีบ) วัดตลิ่งชัน พระครูโสภณกัลยานุวัตร (หลวงพ่อเส่ง) วัดกัลยาณมิตร ฯลฯ พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ จึงขึ้นชื่อว่าน่าใช้ น่าเก็บ และน่าหามาบูชาอย่างยิ่ง
 ส่วนเนื้อทองคำ มีการจัดสร้างเพียง ๒,๕๐๐ องค์ เพื่อให้สอดคล้องกับปีการจัดสร้าง คือ พ.ศ. ๒๕๐๐ ใช้ทองคำหนักประมาณ ๖ สลึง โดยใช้วิธีสั่งจองล่วงหน้า ๑,๐๐๐ บาท ส่วนเงินสมทบทุนจริง ๒,๕๐๐ บาท ทั้งนี้ ผู้สั่งจองชำระเงินอีก ๑,๕๐๐ บาท หรือจะชำระคราวเดียว ๒,๕๐๐ บาทก็ได้  
     ปัจจุบันมีค่านิยมประมาณ ๘ แสน-๑ ล้านบาท


 นอกจากนี้แล้ว ยังมีการจัดสร้างพระ เพื่อเป็นการสมนาคุณกับผู้ร่วมทำบุญอีกด้วย คือ พระเนื้อทองคำหนัก ๑ บาท อีก ๑๕ องค์ มอบเป็นที่ระลึกให้ผู้ร่วมทำบุญสมทบทุนสร้างพุทธมณฑล ๑๐,๐๐๐ บาท ในครั้งนั้นมีผู้สมบททุนสร้าง ๑๕ ราย
 ส่วนเนื้อนากนั้นมีการจัดสร้าง ๓๐ องค์ หนัก ๑ บาท เพื่อมอบให้เป็นที่ระลึกสำหรับผู้ทำบุญ ๕,๐๐๐ บาท มีผู้ทำบุญ ๓๐ ราย ในขณะที่ผู้ทำบุญ ๑,๐๐๐ บาท จะได้รับมอบพระเนื้อเงิน ๑ องค์ ปรากฏว่ามีผู้ร่วมทำบุญ ๓๐๐ ราย
  แต่เนื่องจากจำนวนสร้างมีมากเป็นล้านองค์ ทำให้พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ บางเนื้อยังคงมีเหลืออยู่ที่พุทธมณฑล ในขณะเดียวกัน พระ ๒๕ พุทธศตวรรษ ในตลาดพระก็ยังมีการเช่าบูชากันในราคาที่ไม่แพงนัก ยกเว้นพระเนื้อพิเศษ เช่น เนื้อทองคำ เนื้อเงิน หรือดินเผาสีแปลกๆ องค์สวยคมชัดมาก ก็อาจจะมีราคาแพงกว่าองค์ธรรมดา
 อ้างอิงจากลิงค์......................คลิก บทความ  เหรียญพระพุทธหลักล้าน


วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

76. พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ จากรังดังย่านสุขุมวิท

วันนี้นำพระสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ จาก รังใหญ่ ระดับประเทศย่านสุขุมวิท มาให้ชม 3 องค์

องค์ที่ 1
พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆัง
 

องค์ที่ 2
พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆัง
 

องค์ที่ 3
พระสมเด็จ พิมพ์ทรงเจดีย์ วัดระฆัง